Air Vent

Air Vent มีหน้าที่ ระบายอากาศออกจากระบบของเหลว หรือ ระบบไอน้ำ เมื่อตอน เริ่มต้นเดินระบบ
สำหรับระบบของเหลว air vent มีลักษณะเป็นลูกลอย ซึ่งเมื่อเริ่มระบบ อากาศจะถูกระบายออกทาง Orifice ด้านบน เมื่ออากาศระบายออกหมด ระดับน้ำจะยกลูกลอยมาปิดรู Orifice ที่อยู่ด้านบนสำหรับระบบไอน้ำ ถ้าไม่มีวาล์วระบายอากาศอาจจะเกิดเสียงดังภายในท่อ  เนื่องจากของเหลวหรือของไหลมาพร้อมอากาศภายในไลน์ท่อ

 

 เพื่อป้องกันสนิมและปัญหาในการใช้งาน ระบบทำความร้อนและระบบปรับอากาศจะต้องถูกสร้างให้สามารถไล่อากาศออกได้ทั้งในระหว่างการเติมน้ำในระบบและระหว่างการใช้งานระบบ

 

อากาศยังสามารถปรากฏอยู่ในระบบที่เติมด้วยน้ำได้แม้กระทั่งหลังจากที่ระบบผ่านการไล่อากาศด้วยสกรูไล่อากาศและจุดไล่อากาศ ทั้งนี้เนื่องจากมีอากาศปริมาณหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งปริมาณอากาศขึ้นอยู่กับความดันและอุณหภูมิในบรรยากาศในขณะที่เติมน้ำในระบบ
 
อากาศจะถูกปล่อยออกมาเมื่อน้ำได้รับความร้อนภายในหม้อไอน้ำหรือเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนและที่บางจุดที่มีความดันต่ำในระบบ อย่างเช่นที่จุดสูงสุดในระบบหรือที่ด้านดูดของเครื่องสูบน้ำ  อากาศที่ถูกปล่อยออกมาประกอบด้วยออกซิเจนและไนโตรเจน ออกซิเจนจะรวมตัวกับวัตถุใดๆ ที่เป็นเหล็กในระบบ ฟองอากาศเล็กๆ ของก๊าซไนโตรเจนจะต้องถูกไล่ออกด้วยวิธีการอีกวิธีหนึ่ง
 
ต่อไปนี้เป็นส่วนประกอบและวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการไล่อากาศ
  • สกรูไล่อากาศ (Air vent screw)ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องทำความร้อนแบบแผ่รังสีและเครื่องนำความร้อน และอื่นๆ
  • หม้ออากาศ (Air pot)ซึ่งติดตั้งไว้ที่จุดที่อยู่สูงในระบบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นจุดที่ท่อเปลี่ยนแนวจากแนวราบเป็นแนวตั้งที่พุ่งลง
  • เครื่องไล่อากาศอัตโนมัติ (Automatic air vent) ซึ่งติดตั้งไว้แบบเดียวกับที่ติดตั้งหม้ออากาศ
  • เครื่องไล่ฟองอากาศขนาดเล็ก (Micro-bubble air vent) ที่ติดตั้งไว้หน้าปั๊มซึ่งเป็นบริเวณที่ความดันต่ำที่สุด
  • การไล่ก๊าซ (Degassing) โดยใช้เทคนิคการลดความดันซึ่งส่วนหนึ่งของน้ำในระบบจะถูกส่งไปยังถังไร้ความดัน (pressureless diaphragm tank) ในระบบลดแรงดัน(pressure-holding and expansionsystem)ของระบบ
อากาศที่ไม่ได้ถูกไล่ออกจากระบบจะรวมตัวอยู่ที่จุดสูงในระบบทำความร้อนทำให้เกิดเป็นโพรงอากาศ ในกรณีเลวร้าย การหมุนเวียนของระบบทำความร้อนจะหยุดนิ่ง ทำให้ระบบไม่สามารถทำความร้อนให้กับอาคารได้